วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559

Questionnaire1

LinkFinal1

FinalDetail1

ความพึงพอใจการจัดกิจกรรมของนักศึกษา
อำนวยความสะดวกให้นักศึกษาสามารถจัดกิจกรรมได้หลากหลาย เต็มที่ตามความถนัดและความสนใจ ภายใต้ระเบียบ ข้อบังคับ และแนวปฏิบัติของมหาวิทยาลัย กลุ่มงานสนับสนุนกิจกรรมนักศึกษามีหน้าที่สนับสนุนส่งเสริมเชื่อมประสานกับให้คำปรึกษากิจกรรมให้การทำกิจกรรมดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งจัดหลักสูตรพัฒนาทักษะการจัดกิจกรรม จัดหางบประมาณสนับสนุนและเป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาในการทำกิจกรรมให้สำเร็จตามเป้าหมาย ภายใต้โครงสร้างองค์การนักศึกษา สภานักศึกษาและชมรม

ส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาตามความถนัดและสนใจของนักศึกษาให้ครอบคลุม 5 ด้าน
1. ด้านกีฬา
2. ด้านศิลปวัฒนธรรม
3. ด้านวิชาการ
4. บำเพ็ญประโยชน์
5. ด้านนันทนาการ




นักศึกษาควรหาช่องทางและโอกาสทำกิจกรรมที่สนใจและถนัด มีสาระและคุณค่าซึ่งหาไม่ได้จากการเรียน เพื่อให้เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ของสังคม
กลุ่มสนับสนุนกิจกรรมนักศึกษา เน้นพื้นที่เป้าหมายและการประสานงานร่วมมือในการดำเนินโครงการ นักศึกษาควรจะกำหนดพื้นที่เป้าหมายการปฏิบัติงาน โดยการสำรวจและกำหนดแผนปฏิบัติงานตามความต้องการของประชาชนในชนบท รวมทั้งจะต้องประสานความร่วมมือกับหน่วยงานและประชาชน โดยใช้หลัก 4 ประการ ดังนี้
1.นักศึกษาและอาจารย์ บุคลากร
2.หน่วยราชการงานที่รับผิดชอบ
3. ประชาชนในท้องถิ่น
4.หน่วยงานภาคเอกชน


โดยกองกิจการนักศึกษา แบ่งประเภทและลักษณะของกิจกรรม ดังนี้
1. ด้านกีฬา
2. ด้านศิลปวัฒนธรรม
3. ด้านวิชาการ
4. บำเพ็ญประโยชน์
5. ด้านนันทนาการ



 กิจกรรมนักศึกษา  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ตกำหนดกิจกรรมนักศึกษาเป็น 2 ส่วน คือ
1. กิจกรรมที่จัดโดยนักศึกษาเพื่อนักศึกษาในหลากหลายรูปแบบกิจกรรม
2. กิจกรรมที่จัดโดยมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาทั้งนี้มีเป้าหมาย ในการพัฒนาศักยภาพและคุณธรรม จริยธรรมของนักศึกษา อีกทั้งเพื่อตอบสนองต่อสังคม ส่วนรวม โดยมีเนื้อหาของกิจกรรมหลัก ดังนี้

1.โครงการด้านบำเพ็ญประโยชน์หรืออาสาพัฒนาชนบท กิจกรรมนี้มุ่งปลูกฝังคุณธรรม และอุดมการณ์แก่นักศึกษา สอนให้รู้จักช่วยเหลือ ผู้ด้อยโอกาส รู้จักการทำงานร่วมกันและได้รับประสบการณ์ตรงจากการทำกิจกรรม รู้จักเสียสละส่วนตนเพื่อส่วนรวมนำความรู้ทางวิชาการและ/หรือประสบการณ์ของตนเองในการพัฒนา ชุมชนและสังคมอีกทั้งเป็นการฝึกความสามารถในการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี กลุ่มสนับสนุนกิจการนักศึกษามีวัตถุประสงค์โครงการ ดังนี้
         1.1 เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในการบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ อาสาพัฒนาชนบท อนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม และเพื่อสร้างสรรค์ความเจริญให้แก่ท้องถิ่น
         1.2 เพื่อให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์โดยตรงอันก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในสภาพที่แท้จริงของสังคมในชุมชนเมือง และชนบท ซึ่งจะทำให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพที่แท้จริงของสังคม ตลอดจนมีความสำนึกถึงความรับผิดชอบที่มีต่อสังคม โดยเฉพาะชนบท เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว
        1.3 เพื่อเสริมสร้างให้นักศึกษามีความสามัคคี รับผิดชอบ และเสียสละเพื่อส่วนรวมในระหว่างนักศึกษาร่วมมหาวิทยาลัย
        1.4 เพื่อฝึกให้นักศึกษาเป็นผู้นำที่มีความสามารถและเป็นผู้ตามที่ดี โดยรู้จักการทำงานด้วยกันเป็นหมู่คณะ รู้จักผ่อนปรน และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
        1.5 เพื่อส่งเสริมความเข้าใจ และความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักศึกษา ประชาชนและข้าราชการ
        1.6 เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้ประชาชนในชนบท เห็นความสำคัญของการพัฒนารวมทั้งมีความคิด จะสร้างสรรค์ความเจริญ ให้แก่ท้องถิ่นตนเอง และมีความเสียสละเพื่อส่วนรวม
        1.7 เพื่อเผยแพร่ชื่อเสียงและเกียรติคุณของมหาวิทยาลัย ลักษณะของกิจกรรม เป็นโครงการด้านอาสาพัฒนาชนบท อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างถูกวิธี ทั้งนี้ รวมถึงโครงการทั้งในขั้นสำรวจ และขั้นการดำเนินการ โดยมีลักษณะที่ปฏิบัติ ได้แก่ ด้านการศึกษา เช่น ซ่อมแซมอาคารเรียนและพัฒนาโรงเรียน สนามกีฬา จัดทำและสาธิตการจัดทำอุปกรณ์การศึกษา และให้ความรู้การจัดห้องสมุด การใช้โปรแกรมต่าง ๆฯลฯ ด้านสาธารณูปการ เช่น สร้างศาลาเอนกประสงค์ ถังเก็บน้ำฝน ขุดสระ พัฒนาปรับปรุงหมู่บ้าน และสาธารณสมบัติอื่น ๆ ด้านคมนาคม เช่น การสร้าง ซ่อมสะพาน ถนน งานวางท่อระบายน้ำ ด้านการจัดสถานที่งานภูมิทัศน์ เช่น การจัดสถานที่บริเวณสาธารณะให้มีความสวยงามหลากหลาย ให้บริการและแนะนำความรู้ด้านภูมิทัศน์ ด้านอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น ปลูกป่า พัฒนาอุทยาน ให้บริการความรู้ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

2.โครงการด้านศิลปวัฒนธรรม เป็นกิจกรรมมุ่งหวังเพื่ออนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ แลกเปลี่ยน พัฒนาศิลปวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ปลูกฝังค่านิยม ความภาคภูมิใจ ความซาบซึ้งในศิลปวัฒนธรรมไทย ทั้งนี้จะเน้นให้นักศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์และสืบสาน ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น กิจกรรมประเภทนี้ได้แก่ การร่วมกิจกรรมทางศาสนา การจัดนิทรรศการ การแสดงทางด้านนาฏศิลป์ ดนตรีไทย ดนตรีสากล การละเล่นพื้นเมือง กิจกรรมตาม ขนบธรรมเนียมประเพณีและท้องถิ่น อีกทั้งมีการจัดงานสำคัญตามประเพณีไทย เช่น วันไหว้ครู วันสงกรานต์ วันลอยกระทง วันเข้าพรรษา ฯลฯ มอบหมายให้ชมรมนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในลักษณะนี้อย่างสม่ำเสมอ กลุ่มสนับสนุนกิจการนักศึกษามีวัตถุประสงค์โครงการดังนี้
        2.1 เพื่ออนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ แลกเปลี่ยนและพัฒนาศิลปวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีไทย
        2.2 เพื่อปลูกฝังค่านิยม ความภาคภูมิใจ และความซาบซึ้งในศิลปวัฒนธรรมไทยแก่นักศึกษาและประชาชนทั่วไป ลักษณะของกิจกรรม จัดแสดงกิจกรรมทางด้านนาฏศิลป์ ดนตรีไทย การละเล่นพื้นเมือง การจัดกิจกรรมตามขนบธรรมเนียมประเพณีไทย และท้องถิ่น 4 ภาค

3. โครงการด้านจริยธรรม กลุ่มสนับสนุนกิจการนักศึกษา มีวัตถุประสงค์การจัดทำโครงการ ดังนี้
       3.1 เพื่อเสริมสร้างพัฒนาบุคลิกภาพความเป็นผู้นำคุณธรรม และจริยธรรมแก่นักศึกษา
       3.2 เพื่อปลูกฝังเสริมสร้างค่านิยมที่ถูกต้องดีงามในสังคม และสามารถปรับตนให้อยู่ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีความสุข
       3.3 เพื่อเสริมสร้างสำนึก และความรับผิดชอบของนักศึกษาต่อสังคมและประเทศชาติ ลักษณะของกิจกรรม จัดประชุม อบรม สัมมนาที่ก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจและการเปลี่ยนแปลงเจตคติ พฤติกรรมในด้านการพัฒนาบุคลิกภาพ ความเป็นผู้นำ คุณธรรม จริยธรรม 




4.โครงการด้านกีฬา กิจกรรมนี้มุ่งส่งเสริมให้มีความรู้ และทักษะในการเล่น กีฬาปลูกฝังความมีน้ำใจ เป็นนักกีฬา ความสามัคคีในหมู่คณะ พัฒนาด้านร่างกายและจิตใจให้สมบูรณ์ให้นักศึกษา รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ด้วยการเล่นกีฬา และเพื่อให้หลีกไกลจากยาเสพติด ทั้งนี้กิจกรรมกีฬาจะใช้เป็นสื่อได้หลายประการ อีกทั้งเป็นการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัย กิจกรรมประเภทนี้ได้แก่ กิจกรรมของชมรมกีฬาประเภทต่างๆ การแข่งขันกีฬาประเพณีเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคณะ และกีฬาน้องใหม่ นอกจากนี้ยังมีการแข่งกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันอุดมศึกษา เป็นต้น กลุ่มสนับสนุนกิจการนักศึกษา มีวัตถุประสงค์การจัดทำโครงการ ดังนี้
       4.1 ส่งเสริมนักศึกษาให้มีความรู้ทักษะในการเล่นกีฬา
       4.2 ปลูกฝังความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย
       4.3 ปลูกฝังทัศนคติที่ดีต่อการเล่นกีฬา และการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพอนามัย
       4.4 สร้างความสามัคคีในหมูนักศึกษา อาจารย์และบุคลากร ด้วยการเล่นกีฬา
       4.5 ผ่อนคลายความเครียดให้เกิดอารมณ์แจ่มใสและจิตใจเบิกบาน
       4.6 ช่วยกันทำชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัย

5. โครงการด้านสัมมนากิจกรรมนักศึกษา กลุ่มสนับสนุนกิจการนักศึกษา มีวัตถุ ประสงค์การจัดทำโครงการ
ดังนี้
       5.1 เพื่อให้นักศึกษา อาจารย์และบุคลากร กลุ่มสนับสนุนกิจการนักศึกษาได้ทราบแนวนโยบาย และขอบข่ายของการส่งเสริมและดำเนิน การจัดกิจกรรมนักศึกษา รวมทั้งกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมหาวิทยาลัย
      5.2 เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เจตคติ และถ่ายทอดประสบการณ์จัดกิจกรรมนักศึกษา
      5.3 เพื่อร่วมกันพิจารณาแก้ไขปัญหา อุปสรรค กำหนดแนวของการพัฒนาและวางแผนปฏิบัติกิจกรรมนักศึกษา
      5.4 เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ และความเข้าใจอันดีระหว่างนักศึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษา และบุคลากรกลุ่มสนับสนุนกิจการนักศึกษา
      ลักษณะของกิจกรรม จัดประชุม อบรม สัมมนา ที่เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมนักศึกษาหรือกิจกรรมที่ก่อให้เกิด ความรู้ความเข้าใจพฤติกรรมด้านพัฒนาบุคลิกภาพ ความเป็นผู้นำ คุณธรรม จริยธรรม โดยมีเทคนิคและวิธีการต่างๆ เช่น การบรรยาย การอภิปราย กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ โดยผู้เข้าร่วมประกอบด้วยนักศึกษา และอาจารย์ ตลอดจนบุคลากรกลุ่มสนับสนุนกิจการนักศึกษา และการนี้หัวข้อเรื่องของการอบรม ประชุมสัมมนา จะต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับกิจกรรม นักศึกษา  
      กิจกรรมเพื่อพัฒนาตนเอง กิจกรรมที่มุ่งเสริมสร้างศักยภาพนักศึกษา เช่น การพัฒนา บุคลิกภาพ มนุษยสัมพันธ์ ภาวะผู้นำ คุณธรรมและจริยธรรม การปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้องและดีงาม การปรับตัวให้อยู่ร่วมในสังคมอย่างมีความสุข สร้างจิตสำนึกให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม และประเทศชาติทั้งในขณะที่เป็นนักศึกษาและเมื่อสำเร็จเป็นบัณฑิต

6. โครงการกิจกรรมวิชาการ เป็นกิจกรรมนี้มุ่งส่งเสริมการทำงานด้านกิจกรรมวิชาการของคณะสาขาวิชาต่างๆ ที่เปิดสอนในวิทยาเขตภูเก็ต รวมถึงการจัดประชุมสัมมนา เพื่อเผยแพร่แนวทางในการพัฒนากิจกรรมนักศึกษาให้กับอาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ กฎ ระเบียบ และแนวปฏิบัติต่างๆ ในการจัดกิจกรรม รวมถึงกำหนดแนวทางการพัฒนาและวางแผนปฏิบัติกิจกรรม เสริมสร้าง ความเข้าใจอันดีระหว่างนักศึกษาด้วยกัน อาจารย์ด้วยกัน และระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา ที่ร่วมกันทำ กิจกรรมต่างๆ




การเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา
นักศึกษาสามารถเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ตามความชอบและความสนใจ ซึ่งกิจกรรมของมหาวิทยาลัยมีกลุ่มกิจกรรม 5 กลุ่มหลัก ได้แก่
1. นายกองค์การบริหาร / ประธานสภานักศึกษา/ประธานชมรมนักศึกษา /ประธานคณะกรรมการประสานงานหอพัก
2.คณะกรรมการองค์การบริหาร องค์การนักศึกษา
3. คณะกรรมการสภานักศึกษา
4. คณะกรรมการชมรมนักศึกษา
5.คณะกรรมการประสานงานหอพักนักศึกษา






กองกิจการนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จัดกลุ่มชมรมนักศึกษาครอบคลุมกิจกรรม 4 ด้าน ดังนี้
ชมรมกลุ่มวิชาการ เป็นกิจกรรมเสริมทักษะทางสังคม วิชาการ วิชาชีพและเสริมสร้างความเป็นสากลบนพื้นฐานความเป็นไทยได้แก่
1. กลุ่มกิจกรรมมีเดีย
2. กลุ่มกิจกรรมคนสร้างภาพ
3. กลุ่มกิจกรรมIT Extreme

ชมรมกลุ่มบำเพ็ญประโยชน์ เป็นกิจกรรมเสริมสร้างจิตสำนึกสาธารณะ ได้แก่
1. ชมรมอาสาพัฒนาชุมชน
2. ชมรมเพื่อนสิ่งแวดล้อม
3. กลุ่มกิจกรรมผึ้งงาน

ชมรมกลุ่มกีฬา เป็นกิจกรรมเสริมสร้างและพัฒนาสุขภาพนักศึกษา
1. ชมรมบาสเกตบอล
2. ชมรมฟุตบอล
3. ชมรมเปตอง
4. ชมรมเชียร์
5. กลุ่มกิจกรรมเทควันโด
6. กลุ่มกิจกรรมเทนนิส
7. กลุ่มกิจกรรมคาราเต้

ชมรมกลุ่มศิลปวัฒนธรรม เป็น กิจกรรมเสริมสร้างความภาคภูมิใจ และกิจกรรมเสริมสร้างความเข้าใจพหุวัฒนธรรมและความเป็นประชาธิปไตย ได้แก่
1. ชมรมวิทยุกระจายเสียง
2. ชมรมดนตรีไทย
3. ชมรมศิลปะการแสดง
4. ชมรมมุสลิมสัมพันธ์
5. ชมรมศิลปะการเต้น
6. ชมรมดนตรีสากล
7. กลุ่มกิจกรรมพระพุทธศาสนา
8.กลุ่มกิจกรรมดนตรีตะวันตก



สิทธิและหน้าที่ของนักศึกษา
1. มีสิทธิเท่าเทียมกันในการสมัครรับเลือกตั้งและออกเสียงในกิจกรรมต่าง ๆของนักศึกษาตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับ กิจกรรมนั้น ๆ ของมหาวิทยาลัย
2. มีสิทธิแสดงความคิดเห็นและวิจารณ์อย่างเสรีภายในขอบเขตกฎหมาย และข้อบังคับตลอดจนระเบียบแบบแผน ของมหาวิทยาลัย ส่วนกิจกรรมด้านวิชาการและการเรียนการสอนนั้นอาจให้ความคิดเห็นหรือเสนอแนะได้
3. มีสิทธิในการดำเนินกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ของกลุ่มสนับสนุนกิจกรรมนักศึกษา
4. มีหน้าที่ธำรงไว้ซึ่งความสามัคคี
5. มีหน้าที่ปฏิบัติตามข้อบังคับและประเพณีอันดีงามของมหาวิทยาลัยและปฏิบัติตนตามครรลองระบอบประชาธิปไตย ภายในมหาวิทยาลัย


 

วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2559

การปลูกอ้อยให้ได้ผลผลิต 20 ตันต่อไร่

1.  ไถเตรียมดินโดยใช้ไถผาน 3 เพื่อให้ดินโปร่งขึ้นและรากอ้อยสามารถหาอาหารได้ลึกขึ้น ไถรอบที่ 2 โดยใช้ไถผ่าน 7 เพื่อย่อยดินให้เป็นก้อนเล็กลง หลังจากนั้นแล้วใช้คราดเพื่อให้ดินย่อยละเอียดขึ้นดังรูป


                                                                                                             

2.  การไถยกร่องเพื่อทิ้งท่อนพันธุ์ ให้เกษตรกรใส่ปุ๋ยปลานิลทองหรือปุ๋ยนกอินทรีย์แดงคู่เหยียบโลก รองพื้นลงไปพร้อมกับท่อนพันธุ์ หรือถ้าเกษตรกรที่ใช้รถแท็คเตอร์ในการปลูกอ้อย ก็สามารถใช้ปุ๋ยตราปลานิลทองหรือปุ๋ยตรานกอินทรีย์แดงคู่ไปพร้อมกันได้เลย เพราะเราต้องการให้อ้อยได้รับอาหารทันทีแทงรากออกมาจึงจะทำให้มีหน่อได้เยอะ เพราะว่าปุ๋ยตราปลานิลทองและปุ๋ยตรานกอินทรีย์แดงคู่เหยียบโลกมีธาตุอาหาร ที่ใช้ในการกระตุ้นการออกรากและกระตุ้นการแตกหน่อได้ดี ดังรูป




3.  รอให้หน่ออ้อยแทงหน่อขึ้นมาสูงประมาณ 30-40 เซนติเมตร ทำการกำจัดวัชพื้นแล้วทำการใส่ปุ๋ย ครั้งที่ 2 โดยใช้อัตรา 50-100 กิโลกรัม ต่อไร่ ถ้าเป็นอ้อยตอแรก ก็รอเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เลยแต่ในกรณีที่อ้อยตอ 2 หรือตอ 3 ก็จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 อีกครั้งจึงจะทำให้ได้ผลผลิต 20 ตันต่อไร่  ดังรูป





ขั้นตอนวิธีการปฏิบัติในการบริหารจัดการไร่อ้อย




ขั้นตอนวิธีการปฏิบัติในการบริหารจัดการไร่อ้อย 
          เมื่อมีปัจจัยการผลิตที่มีมาตรฐานทั้งปริมาณและคุณภาพแล้ว ขั้นต่อไปจะเป็นขั้นตอนของวิธีการปฏิบัติให้ได้คุณภาพ ตั้งแต่การปรับปรุงดิน การเตรียมดิน การปลูก การใส่ปุ๋ย การควบคุม วัชพืช ตลอดจนการเก็บเกี่ยวขนส่งและบำรุงตอ ซึ่งจะได้กล่าวพอเป็นสังเขป ดังนี้
การปรับปรุงดินให้เหมาะสมกับกับการปลูกอ้อย
  • สภาพไร่ควรจะราบเรียบ ถ้ามีจอมปลวก ตอไม้ ต้นไม้ ก้อนหิน ต้องขจัดออก ถ้าไม่ขจัดออกชาวไร่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการลงทุนปลูกอ้อยสูงกว่ารายที่ได้ขจัดออกแล้วและควรมีหน้าดินลึกกว่า 50 เซนติเมตร
  • ถ้าดินมีอินทรียวัตถุต่ำ 1.0 ให้ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยคอก เช่น มูลเป็ด มูลไก่ มูลโค มูลกระบือ หรือปุ๋ยพืชสด เช่น ถั่วมะแฮะ ถั่วพร้า โสน ปอเทือง ฯลฯ หรือใช้กากตะกอนหม้อกรอง (Filter cake) อัตรา 20 ตัน/ไร่ พรวนคลุกเคล้าให้เข้ากับดิน
  • ถ้าดินเป็นกรดจัด pH ต่ำกว่า 5.0 ควรปรับปรุงดินด้วยปูนขาว อัตราประมาณ 200 กิโลกรัม/ไร่ ถ้าใช้เครื่องหว่านปูนขาว ปูนจะลงสม่ำเสมอ หว่านก่อนเตรียมดินปลูก
  • ถ้าดินมีความลาดเทให้ทำคันดินขวางความลาดเท ปลูกหญ้าแฝกบนคันดิน ถ้าดินลาดเทมากคันดินต้องถี่ ถ้าลาดเทน้อยคันดินห่าง จะทำให้รักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินไว้ได้นาน
  • ถ้าพื้นที่เป็นที่ต่ำต้องจัดการระบายน้ำไม่ให้ท่วมขังในแปลง
การเตรียมดินปลูกอ้อย
     หลักการเตรียมดิน การเตรียมดินที่ลึกจะทำให้รากอ้อยหยั่งรากไปดูดน้ำอาหารได้ และการเตรียมดินที่ละเอียดจะช่วยเก็บความชื้นได้ดีโดยเฉพาะอ้อยข้ามแล้งต้องเตรียมละเอียดเป็นพิเศษ ส่วนต้นฝนไม่จำเป็น
1.  การเตรียมดินปลูกอ้อยข้ามแล้ง
  • เดือนสิงหาคม กันยายน ไถหมักปุ๋ยพืชสด (ถั่วมะแฮะ ถั่วพร้า ฯลฯ) เปิดหน้าดินรับน้ำฝน (หมักวัชพืช) ด้วยผาน 3 หรือ ผาน 4
  • เดือนตุลาคม หลังหมดฝน พรวนด้วยผาน 7 หรือพรวน 20 จาน (ออฟเสท) ลงริปเปอร์ลึก 40-50 เซนติเมตร ความกว้างระหว่างขา 55 เซนติเมตร 1 ครั้ง เพื่อให้ส่วนที่เป็นดานแตกร้าวถึงกันหมดและดินได้อากาศ แล้วตัดขวางอีก 1 ครั้ง เสร็จแล้วพรวนด้วย 20 จาน   (ออฟเสท) ถ้าหากมีไถสิ่ว จะใช้ไถสิ่วแทนริปเปอร์ก็ได้ผลดีเช่นเดียวกัน
  • ปลายตุลาคม ปลูกจนกระทั่งเดือนธันวาคม หรือดินหมดความชื้น
  • ถ้าดินหมดความชื้นแล้วยังปลูกไม่เสร็จให้ใช้น้ำราด
  • การที่ไม่แนะนำให้ใช้ผาน 3 หรือผาน 4 เตรียมดินหลังจากหมดฝนแล้วเพราะหลังจากหมดฝนหน้าดินเริ่มแห้งการใช้ผานไถพลิกดินเอาดินชื้นขึ้นมาและเอาดินแห้งพลิกลงไปทำให้ความชื้นสูญเสียมากกว่าการใช้ริปเปอร์หรือไถสิ่วซึ่งไม่พลิกดินซึ่งความชื้นไม่สูญเสีย
2.  การเตรียมดินรื้อตอปลูกต้นฝน
  • ระยะเวลาดำเนินการ ธันวาคม มีนาคม
- กรณีมีใบอ้อย - ผานไถชนิดพรวนคลุกใบอ้อยให้เข้ากับดิน
- กรณีเผาใบ    - ถ้าเป็นอ้อยเผาใบ พรวนรื้อตอด้วยผาน 7 หรือพรวน 20 (ออฟเสทของ KMT) ดินจะร่วนตอจะแตกถ้าไถด้วยผาน 3 หรือผาน 4 จะไถตอขึ้นทั้งตอ ตอจะไม่ตายและจะแตกหน่อขึ้นอีก ทำให้เกิดพันธ์ปลอมปน
  • ไถด้วยผาน 3 หรือผาน 4
  • พรวนอีก 1 ครั้ง
  • ริปเปอร์แบบตาหมากรุก
  • ยกร่องรอฝน (ถ้าความชื้นไม่พอ)
  • ปลูกเมื่อฝนตก หรือดินมีความชื้น ยกร่องปลูกทันที หรือปลูกด้วยเครื่องปลูก
  • ให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม

การเตรียมพันธุ์อ้อย
  •  ชาวไร่ทุกรายควรมีแปลงพันธุ์ของตนเอง เพื่อที่จะได้พันธุ์บริสุทธิ์ (ไม่คละพันธุ์) ปลอดโรค และแมลง
  • ขณะตัดพันธุ์ต้องตัดเฉพาะอ้อยลำที่สมบูรณ์เท่านั้น อ้อยลำเล็กผิดปกติ อ้อยเป็นโรค ห้ามตัดให้ทิ้งไว้ในไร่ นำเฉพาะอ้อยปกติเท่านั้นไปปลูก
  • กรณีมีหนอนกอเข้าทำลายบ้างเล็กน้อย ก่อนปลูกให้นำไปแช่น้ำ 24 ชั่วโมง หรือแช่น้ำร้อน 50-52° C เป็นเวลา 2 ชั่วโมง หรือแช่น้ำปูนขาว 7-8 ชั่วโมง หรือใช้แบคทีเรียผสมน้ำราดกองพันธุ์อ้อยทิ้งไว้ 1-2 วันก่อนปลูก เพื่อฆ่าหนอนในลำอ้อย
  • การตัดพันธุ์ต้องไม่ลอกกาบ เพราะการขนย้ายจะทำให้ตาช้ำ ตาแตก อ้อย ไม่งอก
  • เมื่อตัดพันธุ์เสร็จให้รีบปลูกเพราะถ้าทิ้งไว้นานเกิน 5 วัน เปอร์เซนต์การงอกจะต่ำลง
  • การลอกกาบก่อนปลูกจะทำให้อ้อยงอกเร็วกว่าไม่ลอกกาบเล็กน้อย แต่จะทำให้เสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายสูงขึ้นโดยไม่จำเป็น ถ้าใช้เครื่องปลูกควรลอกกาบเพราะจะทำให้อ้อยลงสม่ำเสมอ
  • ถ้าสงสัยว่าแปลงพันธุ์อ้อยจะเป็นโรคใบขาวหรือไม่ ให้สุ่มตัดยอดทิ้ง จำนวน 15-20 ยอด ถ้าตาที่แตกมีใบขาวเกินจาก 1-2 ต้น อ้อยแปลงนี้ก็ไม่ควรใช้ทำพันธุ์



การปลูกอ้อย
          การปลูกอ้อยให้งอก 100% ดินจะต้องมีความชื้นพอเหมาะพันธุ์อ้อยจะต้องสมบูรณ์ ตาอ้อยไม่แตกหรือช้ำ เมื่อวางท่อนพันธุ์แล้ว เทคนิคการกลบจะมีผลต่อการเกิด และการแตกกอของอ้อยกล่าวคือถ้ากลบบางเกินไปดินอาจจะแห้งก่อนอ้อยจะงอก ถ้ากลบดินหนาเกินไป อ้อยจะเกิดช้าและไม่แตกกอ หรือหากปลูกแล้วฝนทับอ้อยจะเน่าไม่งอกเลย ฉะนั้นการกลบท่อนพันธุ์จะหนาหรือบางขึ้นกับสถานการณ์ในขณะนั้น
          การปลูกอ้อยสามารถใช้เครื่องปลูกและแรงงานคนวางท่อนพันธุ์แล้วกลบด้วยแรงงาน รถไถเดินตามหรือรถแทรกเตอร์ติดเครื่องมือกลบ มีทั้งปลูกอ้อยข้ามแล้ง ก่อนฝน (น้ำราด) และต้นฝน ขั้นตอนและวิธีการปลูก ดังนี้
1.  เครื่องปลูกอ้อย เครื่องปลูกอ้อยมีหลายแบบ เช่น เครื่องปลูกแบบเสียบท้าย เครื่องปลูกแบบเสียบบน เครื่องปลูกแบบท่อน (Billet Planter) ที่นิยมใช้ในบ้านเราคือ เครื่องปลูกแบบเสียบบน และเครื่องปลูกแบบเสียบท้าย
  • ตรวจความพร้อมของเครื่องปลูกอ้อย หัวหมูอยู่ในสภาพดีเบิกร่องได้ดี ใบมีดตัดพันธุ์อ้อยคมอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ลูกยางป้อนอ้อยไม่ฉีกขาดไม่แข็งเกินไป (ถ้าแข็งเกินไปจะทำให้ ตาอ้อยแตกหรือท่อนพันธุ์บอบช้ำทำให้เชื้อโรคเข้าได้ง่าย
  • โซ่ สายพาน อยู่ในสภาพสมบูรณ์ พร้อมใช้งาน
  • ชุดใส่ปุ๋ย ท่อส่งปุ๋ยอยู่ในสภาพเรียบร้อยพร้อมใช้งาน ปุ๋ยรองพื้นใช้สูตร 20-20-0 หรือ 16-20-0 หรือ 16-16-8 (ให้ p สูง เพื่อเร่งราก)
  • ชุดกลบดินต้องตั้งให้กลบดินพอเหมาะกับช่วงที่ปลูกในขณะนั้น
  • ลูกกลิ้งบดอัด ถ้าปลูกข้ามแล้ง การกลบหลังบดอัดให้แน่นแล้วหนา 6-10 เซนติเมตร ถ้าปลูกต้นฝนดินชื้นมาก กลบหนา 2-5 เซนติเมตร ไม่จำเป็นต้องบดอัด
  • ปลูกโดยใช้เกียร์ สโลว์ (slow) 1-2 อัตราเร็ว ประมาณ 4 กิโลเมตร/ชั่วโมง เร่งเครื่องยนต์ที่ 1,300-1,500 รอบ/นาที
  • ปรับความลึกของร่องประมาณ 20-25 เซนติเมตร โดยใช้ระบบไฮโดรลิกอัตโนมัติ ควบคุม
  • ป้อนท่อนพันธุ์โดยไม่ขาดตอนหรือป้อนท่อนพันธุ์ให้ซ้อนกัน 0.50-1.00 เมตร ปัจจุบันนิยมใช้เครื่องปลูกแบบร่องคู่ เพื่อลดการเสี่ยงจากอ้อยไม่งอกและเพิ่มเปอร์เซนต์การงอก
  • ระยะระหว่างร่อง 1.50 เมตร
  • ถ้าดินมีปลวกต้องฉีดพ่นท่อนพันธุ์ด้วยแอสเซนต์ อัตรา 450 ซีซี./ไร่ หรือ 80 ซีซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร
2.  การปลูกอ้อยข้ามแล้ง เดือนตุลาคม พฤศจิกายน หรือธันวาคม
  • ดินที่เตรียมไว้ต้องละเอียด เตรียมดินลึกมากกว่า 30 เซนติเมตร ดินมีความชื้นดี ปลูกด้วยเครื่องปลูกจะลดการสูญเสียความชื้น ความลึกที่ระดับ 20 เซนติเมตร มีความชื้นดี เมื่อกำดูดินจะรวมเป็นก้อน เมื่อแบมือออกดินไม่แตกออก ถ้าแตกออกแสดงว่าความชื้นไม่พอ ต้องให้น้ำ ถ้าไม่มีน้ำต้องยุติการปลูก
  • การปลูกด้วยแรงงานเมื่อเปิดร่องด้วยผานหัวหมูจะต้องรีบใส่ปุ๋ยรองพื้นวางท่อนพันธุ์ สับ 3-4 ตา/ท่อน กลบดินหนาประมาณ 10 เซนติเมตร ด้วยรถไถเดินตามหรือแรงงาน
  • ระยะห่าง 1.20-1.30 เมตร สำหรับการบำรุงรักษาด้วยแรงงาน หรือรถไถ เดินตาม
  • ระยะห่าง 1.40-1.50 เมตร สำหรับการบำรุงรักษาด้วยเครื่องจักรกล
  • ถ้าพันธุ์ที่แตกกอไม่ดี ควรวางท่อนคู่ หรือปลูกร่องคู่
  • ถ้าดินมีปลวกให้ฉีดพ่นท่อนพันธุ์ด้วยแอสเซนด์ อัตรา 450 ซีซี./ไร่ ก่อนกลบ
3.  ปลูกอ้อยน้ำราด ระหว่างเดือนธันวาคม - มีนาคม
  • ถ้าดินที่เตรียมไว้ความชื้นไม่เพียงพอ หลังจากเบิกร่องใส่ปุ๋ยรองพื้น 40-50 กิโลกรัม/ไร่ วางท่อนพันธุ์ สับ 3-4 ตา/ท่อน กลบบาง ๆ แล้ว ให้น้ำในร่องอ้อยเมื่อดินหมาด ให้กลบด้วย ดินแห้ง 3-5 เซนติเมตร
  • ระยะห่างระหว่างร่อง 1-20-1.30 เมตร สำหรับบำรุงรักษาด้วยแรงคนหรือ รถไถเดินตาม หรือระยะห่าง 1.40-1.50 เมตร สำหรับบำรุงรักษาด้วยเครื่องจักรกล
  • พันธุ์อ้อยหากแตกกอไม่ดีควรวางคู่
  • ถ้าดินมีปลวกให้ฉีดพ่นท่อนพันธุ์ด้วยแอสเซนต์ อัตรา 450 ซีซี/ไร่ ก่อนกลบ
4.  ปลูกอ้อยต้นฝน

  • ควรปลูกตั้งแต่ฝนแรก ๆ ควรจะให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม เดือนมีนาคม-เมษายน เกิดฝนตก ดินชื้นพอ ถ้าปลูกช่วงมีนาคม-เมษายน อากาศร้อนจัด ถ้ากลบดินน้อยกว่า 10 เซนติเมตร ตาอ้อยจะสุกไม่งอก หรือดินจะแห้งก่อนอ้อยงอก อ้อยจะเสียหายหมดถ้าฝนไม่ตกซ้ำ ฉะนั้นการปลูกอ้อยในเดือนมีนาคม-เมษายน ต้องติดตามสภาพ ดินฟ้าอากาศอย่างใกล้ชิด ถ้าอากาศร้อนจัดควรกลบดินหนา 10-12 เซนติเมตร และดินต้องมีความชื้นเพียงพอ
  • ระยะระหว่างร่อง 1-20-1.30 เมตร สำหรับบำรุงรักษาด้วยแรงงานคนหรือ รถไถเดินตาม หรือระยะห่าง 1-40-1.50 เมตร สำหรับบำรุงรักษาด้วยเครื่องจักร หลังจากเบิกร่อง ใส่ปุ๋ยรองพื้น 40-50 กิโลกรัม/ไร่ วางท่อนพันธุ์ สับ 3-4 ตา/ท่อน ถ้าดินชื้นมาก กลบ 2-5 เซนติเมตร หรือไม่ต้องกลบ
  • พันธุ์อ้อยหากแตกกอไม่ดีควรวางคู่ หรือปลูกร่องคู่ ข้อควรระวัง การกลบดินหนา หากฝนตกหนักจะทำให้ท่อนพันธุ์เน่า ไม่งอก ถ้างอกจะไม่แตกกอ

วิธีการปลูกอ้อย



การเลือกทำเลพื้นที่ปลูก
1. ควรเลือกที่ดอน น้ำไม่ขัง ดินร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์ดี หน้าดินลึกอย่างน้อย 20 นิ้ว pH 5-7.7 แสงแดดจัด ปริมาณน้ำฝนควรมากกว่าปีละ 1,500 มิลลิเมตร และมีการกระจายของฝนสม่ำเสมอ ถ้าฝนน้อยกว่านี้ควรจะมีการชลประทานช่วย การคมนาคมสะดวก และอยู่ห่างจากโรงงานน้ำตาลไม่เกิน 50 กิโลเมตร
2. ควรปรับระดับพื้นที่และแบ่งแปลงปลูกอ้อย เพื่อความสะดวกในการใช้เครื่องจักรในการเตรียมดินปลูก และเก็บเกี่ยว ตลอดจนการระบายน้ำ
3. การไถ ควรไถอย่างน้อย 2 ครั้ง หรือมากกว่า ความลึกอย่างน้อย 20 นิ้ว หรือ มากกว่า เพราะอ้อยมีระบบรากยาว ประมาณ 2-3 เมตร และทำร่องปลูก
          การเตรียมท่อนพันธุ์ ปัจจุบันพันธุ์อ้อยมีหลายพันธุ์ ควรเลือกพันธุ์ที่มีลักษณะการเจริญเติบโตดี ให้ผลผลิตสูงและมีความหวานสูงด้วย โดยพิจารณาจากสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
1. พันธุ์อ้อยมีความสมบูรณ์ตรงตามพันธุ์ อายุประมาณ 8-10 เดือน ควรเป็นอ้อยปลูกใหม่ มีการเจริญเติบโตดีปราศจากโรคและแมลง
2. ตาอ้อยต้องสมบูรณ์ ควรมีกาบใบหุ้มเพื่อป้องกันการชำรุดของตาและเมื่อจะปลูกจึงค่อยลอกออก
3. ขนาดท่อนพันธุ์ที่ใช้ปลูกควรมีตา 2-3 ตา หรือจะวางทั้งลำก็ได้

วิธีการปลูก
1. ปลูกด้วยแรงคน คือหลังจากเตรียมดินยกร่อง ระยะระหว่างร่อง 1-1.5 เมตร แล้ว นำท่อนพันธุ์มาวางแบบเรียงเดี่ยวหรือคู่ ปัจจุบันเกษตรกรนิยมปลูกโดยวางอ้อยทั้งลำเหลื่อมกันลงในร่อง เสร็จแล้วกลบดินให้หนาประมาณ 3-5 เซนติเมตร ถ้าปลูกปลายฤดูฝนควรกลบดินให้หนาเป็น 2 เท่าของการปลูกต้นฤดูฝน
2. การปลูกอ้อยโดยใช้เครื่องปลูก จะช่วยประหยัดแรงงานและเวลา เพราะจะใช้แรงงานเพียง 3 คนเท่านั้น คือคนขับ คนป้อนพันธุ์อ้อย และคนเตรียมอุปกรณ์อย่างอื่นถ้าเป็นเครื่องปลูกแถวเดียว แต่ถ้าเป็นเครื่องปลูกแบบ 2 แถว ก็ต้องเพิ่มคนขึ้นอีก 1 คน โดยจะรวมแรงงานตั้งแต่ยกร่อง สับท่อนพันธุ์ ใส่ปุ๋ย และกลบร่อง มารวมในครั้งเดียว ซึ่งเกษตรกรสามารถปลูกอ้อยได้วันละ 8-10 ไร่ แต่จะต้องมีการปรับระดับพื้นที่และเตรียมดินเป็นอย่างดีด้วย

          การใส่ปุ๋ยอ้อย เป็นสิ่งจำเป็น ควรมีการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยพืชสดร่วมกับปุ๋ยเคมี เพื่อปรับสภาพทางกายภาพของดิน ปริมาณปุ๋ยที่ใส่ควรดูตามสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน และการเจริญเติบโตของอ้อย ถ้ามีการวิเคราะห์ดินด้วยยิ่งดี ปุ๋ยเคมีที่ใส่ควรมีธาตุอาหารครบทั้ง 3 อย่าง คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปตัสเซียม (เอ็น พี เค) ควรแบ่งใส่ 2 ครั้ง คือ
1. ใส่ปุ๋ยรองพื้น ใส่ก่อนปลูกหรือพร้อมปลูก ใช้ปุ๋ยที่มีธาตุอาหาร เอ็น พี เค ทั้ง 3 ตัว เช่น 15-15-15, 16-16-16 หรือ 12-10-18 อัตรา 50-100 กิโลกรัม/ไร่
2. ใส่ปุ๋ยแต่งหน้า อ้อยอายุไม่เกิน 3 - 4 เดือน ควรเป็นปุ๋ยไนโตรเจนอย่างเดียว เช่น 21-0-0 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่
          การกำจัดวัชพืช การกำจัดวัชพืชสำหรับอ้อยเป็นสิ่งจำเป็นในช่วง 4-5 เดือนแรก อาจใช้แรงงานคน แรงงานสัตว์ หรือสารเคมีกำจัดวัชพืชก็ได้ เกษตรกรนิยมใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช ดังนี้
1. ยาคุม ใช่เมื่อปลูกอ้อยใหม่ ๆ ก่อนหญ้าและอ้อยงอก ได้แก่ อาทราซีน อมีทรีน และเมทริบิวซีน อัตราตามคำแนะนำที่สลาก
2. ยาฆ่าและคุม อ้อยและหญ้างอกอายุไม่เกิน 5 สัปดาห์ ได้แก่ อมีทรีน อมีทรีนผสมอาทราซีน และเมทริบิวซีนผสมกับ 2,4-ดี อัตราตามคำแนะนำที่สลาก
          การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชให้มีประสิทธิภาพ เกษตรกรต้องรู้จักวิธีใช้ให้ถูกต้อง ฉีดสารเคมีกำจัดวัชพืชในขณะที่ดินมีความชื้น หัวฉีดควรเป็นรูปพัด นอกจากนี้สามารถคุมวัชพืชโดยปลูกพืชอายุสั้นระหว่างแถวอ้อย เช่น ข้าวโพด ถั่วเขียว และถั่วเหลือง เป็นต้น นอกจากจะช่วยคุมวัชพืชแล้ว อาจเพิ่มรายได้และช่วยบำรุงดินด้วย
การตัดและขนส่งอ้อย เกษตรกรจะต้องปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูงสุด ซึ่งเกษตรกรจะต้องรู้ว่าอ้อยของตัวเองแก่หรือยัง โดยดูจากอายุ ปริมาณ น้ำตาลในต้นอ้อย และวางแผนการตัดอ้อยร่วมกับโรงงาน ควรตัดอ้อยให้ชิดดินเพื่อให้เกิดลำต้นใหม่จากใต้ดิน ซึ่งจะแข็งแรงกว่าต้นที่เกิดจากตาบนดิน

การบำรุงตออ้อย
1. ทำการตัดแต่งตออ้อยหลังจากตัดทันที หรือเสร็จภายใน 15 วัน ถ้าตัดอ้อยชิดดิน ก็ไม่ต้องตัดแต่งตออ้อย ทำให้ประหยัดเงินและเวลา
2. ใช้พรวนเอนกประสงค์ 1-2 ครั้ง ระหว่างแถวอ้อยเพื่อตัดและคลุกใบ หรือใช้คราดคราดใบอ้อยจาก 3แถวมารวมไว้แถวเดียว เพื่อพรวนดินได้สะดวก
3. ใช้ริปเปอร์หรือไถสิ่วลงระหว่างแถวอ้อย เพื่อระเบิดดินดาน ต้องระมัดระวังในเรื่องความชื้นในดินด้วย
4. การใส่ปุ๋ย ควรใส่มากกว่าอ้อยปลูก ใช้สูตรเช่นเดียวกับอ้อยปลูก
5. ในแปลงที่ไม่เผาใบอ้อยและตัดอ้อยชิดดิน ก็จะปล่อยทิ้งไว้ตามธรรมชาติ และเริ่มดายหญ้าใส่ปุ๋ยเมื่อเข้าฤดูฝน
6. การไว้ตออ้อยได้นานแค่ไหนขึ้นกับหลุมตายของอ้อยว่ามีมากน้อยเพียงใด ถ้ามีหลุมตายมาก ก็จะรื้อปลูกใหม่